วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

นกกรงหัวจุก เสียงเพลงแห่งไพรพนา

ถิ่นกำเนิดและลักษณะของนกกรงหัวจุก

  • หากพูดถึงนกหัวจุก ไม่มีใครที่ไม่รู้จัก โดยเฉพาะชาวใต้ และพ่อค้าชาวจีน ตั้งแต่อดีต อาจย้อนไปได้ไกล 500 ปี หรือ 1000ปี ก็เป็นได้ ทุกวันนี้คนไทยเลี้ยงนกชนิดนี้เป็นการค้า และสะสม กระจายไปทั่วประเทศ ราคาแพง อาจเริ่มต้นที่เพียง 400 - หลักล้าน และบางสำนักมีการปั่นราคา และ หลอกลวงกันก็มี นักนิยมอนุรักษ์ รุ่นใหม่ๆไม่รู้ทัน แรกๆ จะโดนค่าครู เมื่อรู้แล้ว ก็จะเข้าใจไปเอง 
  • จริงๆแล้วนกชนิดนี้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่คุ้มครองไว้ มิใช่กลัวจะสูญพันธุ์ แต่คุ้มครองไว้กลัวจะกลายพันธุ์ จนทำให้นกถิ่นเดิมสูญหายไป จนไม่อาจกำหนดได้ว่า ลักษณะเป็นเช่นไร มีคนแย้งในเรื่องกฏหมาย ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ไว้ว่า มาตรา 19 ,47 ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง..(สัตว์ป่าคือ สัตว์ที่เกิดในป่า สายพันธุ์และเลือดตรงกันกับสปี้ชี่ในป่า อย่างน้อย 3-5 ชั้น ถือว่าเป็นสัตว์ป่า)..ฝ่าฝืนระวางโทษจำคุกไม่เกิน4 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    ม.4 สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายความว่า สัตว์ป่าตามที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
    และกรมป่าไม้ ก็ออกกฎกระทรวงประกาศให้ นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือ นกกรงหัวจุก( ชื่อนกกรงหัวจุกนี้ เกิดภายหลังชื่อนกปรอด คือ หลังจากเอามาเลี้ยงในกรงจนเรียกกันติดปากแล้วว่า "นกกรงหัวจุก" ซึ่งหมายความว่านกหัวจุกที่เลี้ยงในกรงไม่ใช่นกป่า กรมป่าไม้จึงมาประกาศเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ.2546 ในภายหลัง ซึ่งเดิมประกาศเพียงแต่ว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง") เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกนก ลำดับที่ 580

  • ข่าวล่าสุดมีการยื่นหนังสือจาก สมาคมนกกรงหัวจุกแห่งประเทศไทย ชมรมนกกรงหัวจุก สมาพันธ์นกกรงหัวจุก และผู้รักนกกรงหัวจุกแห่งประเทศไทย กว่า500คน   นำโดย นายศราวุธ  วาหะรักษ์  โฆษกสมาคมนกกรงหัวจุกแห่งประเทศไทย  ยื่นข้อเรียกร้องให้กรมอุทยานฯปลดนกกรงหัวจุก  ออกจากรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 


ชื่ออื่นๆ นกกรงหัวจุก (ใต้) 
นกปรอดหัวโขนเคราแดง นกปรอดหัวจุก นกปรอดหัวโขน (กลาง) 
นกพิชหลิว นกปริ๊จจะหลิว( เหนือ) 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Pycnonotus jocosus     


    สกุล Pycnonotus ซึ่งเป็นสกุลของนกปรอดสวน เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทนกที่เพาะพันธุ์ได้ พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านไปจนถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ราบต่ำ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๓๖ ชนิด นกมีถิ่นอาศัยอยู่แถบเอเชียในกลุ่มประเทศที่มีอุณหภูมิร้อนชื้นสูง เช่น จีน อินเดีย อินโดฯ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และไทย พบเห็นได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะนกปรอดหัวโขนเคราแดง

 ตำนานนกกรงหัวจุก (นกปรอดหัวจุก)
ลีลาการร้องของสำนวนเสียง ในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือเอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้วปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกัน ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
     การแข่งขันนกกรงหัวจุกได้มาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.2515 เพราะว่าชาวจังหวัดสงขลา มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนจากการตีกันมาเป็นแบบแข่งขันประชันเสียง โดยเอาแบบมาจากการแข่งขันของนกเขาชวา คือนำนกป่าที่ต่อมาได้นำมาเลี้ยงและฝึกให้เกิดความเชื่องกับคนเลี้ยงหรือเชื่องกับผู้ที่เป็นเจ้าของ พร้อมกับฝึกให้นกมีความสามารถในการร้องในลีลาต่างๆ ตามแต่ที่นกในแต่ละตัวจะทำได้ และผู้เล่นนกกรงหัวจุกก็เริ่มเปลี่ยนการละเล่นที่นำนกมาตีกัน มาเป็นอย่างเดียวกันกบนกเขาชวา คือการเล่นฟังเสียงอันไพเราะของนก จากนั้นการแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็เริ่มมีผู้นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2519 ที่สนามบริเวณหลังสถานีรถไฟเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งในการจัดครั้งนั้นถือว่าเป็นรายการใหญ่ที่สุดในยุคนั้น และได้ยกเลิกการแข่งขันนกกรงหัวจุกในแบบตีกัน ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ.2520 ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดให้มีการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก โดยจัดตั้งขึ้นเป็นชมรม ซึ่งทำให้ทุกวันนี้มีชมรมต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย
     กรุงเทพมหานคร ได้มีการเล่นนกกรงหัวจุก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2524 โดยมีกลุ่มคนทางภาคใต้นำเอากีฬาชนิดนี้เข้ามาเผยแพร่ให้เป็นทีรู้จักและได้จัดให้มีการแข่งขัน ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ตลอดสวนจตุจักร และนับแต่นั้นมากระแสความนิยมแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็ได้รับความนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน
     นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกพิชหลิว ชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pycnomotus Jocosus เป็นนกที่มีการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้
     วงศ์สกุล (GENUS) ของนกปรอดมีมากมายหลายชนิด วงศ์นกปรอด (Family Pycnonotidae) เป็นนกที่มีชนิดมากที่สุด ซึ่งในแต่ละชนิดก็มีเป็นจำนวนมาก และที่ถูกค้นพบมากที่สุดคือประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบนกปรอดทั้งหมด ประมาณ 36 ชนิด โดยที่ปรอดทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด
นกปรอดหัวจุกที่นิยมนำมาแข่งขันกันนั้น จะนิยมนำนกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือที่ภาคใต้เรียกว่านกหัวจุก ภาคเหนือนิยมเรียกว่านกปริ๊จจะหลิวหรือพิชหลิว ส่วนในสายพันธุ์อื่นๆ นั้น ปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่ามีการนำมาเลี้ยงเพื่อการแข่งขันประชันเสียงร้อง เช่นเดียวกับนกกรงหัวจุกแต่อย่างใด







วิธีดูเพศนก
นกกรงหัวจุกตัวผู้
หัวใหญ่ หน้าใหญ่ ขนคอขาวฟู ฐานจุกใหญ่ ปลายจุกโค้งไปด้านหน้าเล็กน้อย ดวงตาสดใส หมึกดำจะยาวกว่าตัวเมีย บางตัวปลายหมึกเกือบชิดกัน บัวแดงใหญ่ สีสดชัดเจน ข้อสังเกตุคือ ขนหัวปีกทั้งสองข้างมีสีแดงนิดหน่อยซึ่งตัวเมียไม่มี บริเวณขนหน้าอกหน้าท้องถ้าใช้ลมปากเป่าเบา ๆ จะเห็นขนอ่อนคลุมทั่วไป แต่ตัวเมียไม่ค่อยมี นกเก่งตอนยืนร้องจะเหยียดขาจนสุดข้อเท้า ปลายหางสอดใต้คอน ลีลาท่าเต้นงดงาม ร้องเป็นเพลงยาว ๆ มีจังหวะที่ดี 5-7 คำ
นกกรงหัวจุกตัวเมีย
หัวเล็ก หน้าเล็ก ขนคอเรียบ ๆ ฐานจุกเล็ก ปลายจุกโค้งไปด้านหลังหรือชี้ตรง หมึกดำมีไม่มาก บัวแดงเล็ก เรียบ ลีลาร้องไม่คึกคัก เพลงไม่ยาว มักร้อง 1 - 3 คำ ( ส่วนมาก 2 คำ )
นกปรอดหัวโขนที่ยังโตไม่เต็มวัยตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันบริเวณหน้าผากและหงอนมีสีน้ำตาลอมดำ แต้มสีแดงใต้ตายังไม่ปรากฏ เห็นเพียงแก้มสีขาวใต้โคนหางก็เป็นสีชมพูจางๆ หรือสีส้มอ่อน ๆ ยังไม่แดงเข้มเท่ากับพ่อแม่ สำหรับแต้มสีแดงใต้ตาเป็นลักษณะเด่นของนกปรอดหัวโขน


ลักษณะทั่วไปของนกปรอดหัวโขนเคราแดง
   แก้มและคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอกเหมือนเป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัว ขนส่วนหัวจะร่วมกันเป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน ใต้ท้องมีขนสีขาว นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกกรงหัวจุกนั้นทางภาคใต้นิยมเลี้ยงกันมายาวนานแล้ว และสืบทอดกันมาชั่วลูกหลานจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งจนเรียกได้ว่าการเลี้ยงนกกรงหัวจุกเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านหรือเป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่งของคนภาคใต้ไปแล้ว และไม่ปรากฏหลักฐานใดๆว่าคนทางภาคใต้เริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่เมื่อใดแต่มีหนังสือนกกรงหัวจุกเล่มหนึ่ง โดยมีคุณศักดา ท้าวสูงเนิน เป็นบรรณาธิการ ได้รวบรวมและเขียนเอาไว้ว่า
 การเริ่มเลี้ยงนกปรอด ประเทศสิงคโปร์ น่าจะเป็นชาติแรกที่นิยมเลี้ยงนกปรอดก่อนประเทศอื่นๆ และได้ให้ความสำคัญกับนกชนิดนี้มาถึงกับเอารูปนกปรอดหัวโขนเคราแดงมาเป็นสัญลักษณ์ในการพิมพ์ธนบัตรใช้จ่ายภายในประเทศ ดังนั้น จึงขอสันนิษฐานว่าน่าจะเลี้ยงก่อนชาติอื่นๆ

ส่วนในประเทศไทยเริ่มมีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกกันมานานแล้วประมาณว่าเกิน กว่40ปีมาจนถึงปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาการเลี้ยงและการแข่งขันประชันเสียงออกเป็นชนิดต่างๆ เช่นมีทั้งการแข่งขันประชันเสียงในประเภทนับดอก คือให้คะแนนตามที่นกร้องออกมาเป็นคำละคะแนน ประเภทสากล ประเภทเสียงทอง และในปัจจุบันก็ไม่ปรากฏว่ามีการแข่งขันประเภทตีกัน 








 สูตรให้นกร้องเพราะ เสียงดี ตรงพยางค์






การฝึกฝนเพื่อการแข่งขัน
การที่จะนำนกมาฝึกฝนเพื่อการแข่งขันควรเป็นนกที่อายุไม่มากและไม่ควรจะเกิน 1ปี ถ้ายิ่งได้นกอายุ 2-3 เดือนมาฟูมฟักและเลี้ยงดูคู่กับนกใหญ่เสียงดี สำเนียงดี ลูกนก ( บางแห่งเรียกลุกใบ้ )ก็จะจดจำลีลาสำเนียงจากนก ใหญ่ที่ดีและเป็นผลดีกับผู้เลี้ยงเพื่อการแข่งขันอีกด้วยในการรักษาสายพันธุ์ของสายพันธุ์สำเนียงเสียง
การฝึกซ้อมนกปรอดหัวโขน เริ่มจากอาทิตย์แรกๆ ควร ซ้อมไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวันหลังจากพ้นหนึ่งเดือนไปแล้วก็เพิ่มเป็นวันละ 3 ชั่วโมง และต่อไปซ้อมวันละ 4 ชั่วโมง ช่วงเดือนที่สองและที่สามเราจะรู้ว่านกตัวไหนมีลีลาและสำเนียงเป็นเช่นไรเสียงผิดเพี้ยนหรือ ว่าไม่ ได้มาตรฐาน มีความตื่นตระหนกเวลาเคลื่อนย้ายและไม่ชินกับการเดินทางหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อเราพาออกซ้อมกับนกบ้านอื่นแล้ว พบว่านกตัวนั้นหามีลีลาเป็นนักสู้แม้แต่น้อย คือ นกที่เป็นนกสู้จะออกท่าทาง ขึงขังกางปีกร้องท้าแล้วก็พองขน ถ้าไม่มีลักษณะนี้และฝึกฝนยังไงก็ไม่ดีขึ้น ควรแยกเอาไปอยู่ต่างหาก แต่ถ้านกตัวไหนทำสิ่งที่ตรงข้ามที่กล่าวมาข้างต้นถือว่าเป็นนกที่เริ่มสู้นก และมีแววเป็นนกแข่ง
สังเกตนกของเราว่าสู้นกอื่นมากขึ้นด้วยการยืนขึ้นด้วยการยืนระยะนานนั้นหมายถึงนกของเราพร้อมจะลง แข่งได้แล้ว ยิ่งนกเริ่มผลัดขนมีใจสู้นกตัวอื่น ๆ อย่างไม่เกรงกลัว นับเป็นนกลักษณะดี
สำหรับเทคนิคการดูระยะยืนของนกที่เริ่มหัดใหม่นั้นให้สังเกตตอนนำไปซ้อมกับนกตัวอื่นๆ ให้เช็คเป็นยกๆ ไป ยกละประมาณ 25-30 นาที ทำทั้งหมด 3 ยก หากนกของเราออกอาการสู้ด้วยท่าทางและสำเนียงเกิน 20 นาทีขึ้นไปก็ถือว่าใช้ได้และค่อนข้างดีทีเดียว ยิ่งสลับให้ไปประกบคู่กับนก ตัวใหม่แล้วนกของเรายังคงออกอาการสู้และส่งเสียงร้องเป็นจำนวน 3 ประโยคขึ้นไป ก็ควรทะนะถนอมให้ดี และควรหมั่นซ้อมเช่นนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อจบยกสี่แล้วควรพักสัก 5 นาที แล้วเอานกเข้าไปซ้อมใหม่หากยังออกอาการเป็นนักสู้ด้วยลีลาและสำเนียงเสียง ของแต่ละบุคคล บางคนสืบทอดกันตระกูล การเลี้ยงนกชนิดนี้ จนเกิดความเชี่ยวชาญเลยก็ เข้าขึ้นหาตัวจับยากเลยก็มี และ มีลูกศิษย์ลูกหา คนเข้าคบค้าสมาคมมากมาย
 

แต่จริงๆแล้ว นกที่มันร้อง เพราะมันรู้สึกปลอดภัย จับเกาะแล้วจิงร้องอย่างมีความสุข เสียงนกที่ร้องจึงบ่งบอกถึงบทเพลงแห่งป่าและชีวิตที่แท้จริง มิใช่การจับมาขังกรงแต่อย่างใด  ธรรมชาติเป็นของทุกคน เราต้องช่วยกันดูแล แม้ชีวิตเล็กๆ ก็คือ 1 ชีวิต ถ้าเราให้เค้าอยู่กับธรรมชาติ คนอื่นๆจะได้ยินได้ยล ด้วยกัน ฯฯฯ สวัสดีครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น